วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี   21  มิถุนายน  2556
ครั้งที่ 2  เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน   08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.


ความหมายของภาษา


ภาษา หมายถึง การสื่อความหมาย ภาษาเป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดและความรู้สึก

ความสำคัญของภาษา

  1. เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
  2. เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
  3. เป้นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
  4. เป็นเครื่องมือในการช่วยจรรโลงจิตใจ

ทักษะทางภาษา  ประกอบด้วย

           ฟัง   พูด   อ่าน   เขียน

  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Piaget)    

     การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทางด้านภาษาและสติปัญญา

กระบวนการเรียนรู้แบ่งออกเป็น 2  กระบวนการ  คือ
  1.  การดูกซึม (Assimilation)   เด็กได้เรียนรู้   และการดูดซึมภาพต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมด้วยสถาการณ์ของตนเอง  เช่น สัตว์ที่มีปีก บินได้ เรียกว่า  นก
  2. การปรับความเข้าใจเดิม ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม (Accommodation)  เป็นกระบวนการที่ควบคู่ไปกับการดูดซึม  โดยการปรับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ เช่น สัตว์ที่มีปีก  บินได้  ปากแหลมๆ ร้องจิ๊บๆ   เรียกว่า นก   เมื่อเกิดการดูดซึมและปรับความเข้าใจ จะเกิดความสมดุล (Equilibrium) กลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง
เพียเจต์ได้แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญา  ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา ดังนี้

1. ขั้นพัฒนาการทางด้านประสาทสัมผัส (Sensorimaotcr  Stage) แรกเกิด -2 ปี
  • เด็กเรียนรู้จากประสามสัมผัส
  • เด็กเรียนรู้จากคำศัพท์สิ่งแวดล้อม  บุคคลรอบตัว
  • เด็กสนใจสิ่งที่อยู่รอบตัว  ก่อนที่จะเรียนรู้ภาษา
2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Preoperatlonal  Stage )
      
         2.1 อายุ 2-4 ปี (Preconceptual  Period) เด็กเริ่มใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสาร  เล่นบทบาทสมมุติ  การเล่าเรื่อง  แสดงความรู้สึกผ่านสีหน้า  บอกชื่อสิ่งต่างๆ รอบตัว  ภาษาของเด็กมีลักษณะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง  จะใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์แสดงออกโดยคิดว่าผู้อื่นคิดเหมือนตน

         2.2 อายุ 2- 7 ปี (Intuitive  Period)  .ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ดีกับคนรอบข้าง  ให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้บ้าง  ยังยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง  รู้จักสร้างมโนทัศน์โดยอาศัยการจัดกลุ่มวัตถุ  สามารถเห้นความสำคัญของสิ่งของได้

3. ขั้นการคิดแบบรูปธรรม(Concrete  Operational  Stage) อายุ 7-11 ปี    เด็กสามารถแก้ไขปัญหาโดยการใช้เหตุผลที่เป็นรูปธรรม


4.ขั้นการคิดแบบนามธรรม (Formal Operational  Stage ) อายุ 11- 15 ปี  
  • เด็กคิดด้วยเหตุผลอย่างเป็นระบบ
  • เด็กจะใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา
  • เข้าใจกฎเกณฑ์ทางสังคม
  • สร้างมโนทัศน์ให้สัมพันธ์กับนามธรรม

พัฒนาการทางภาษาของเด็ก

          เด็กจะค่อย ๆ  สร้างความรู้และความเข้าใจเป็นลำดับขั้น   ครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจและยอมรับ หากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้อง  ควรมองว่านับเป็นกระบวนการเรียนรู้ภาษาของเด็ก


จิตวิทยาการเรียนรู้


1.ความพร้อม

เป็นวัยความสามารถ  ประสบการณ์เดิมของเด็ก

2.ความแตกต่างระหว่างบุคคล
  • อิทธิพลทางพันธุกรรม
  • อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม
3.การจำ
  • การเห็นบ่อยๆ
  • การทบทวนเป็นระยะ
  • การจัดเป็นหมวดหมู่
  • การใช้คำสัมผัส
4. การให้แรงเสริม
  • แรงเสริมทางบวก
  • แรงเสริมทางลบ
อาจารย์ได้มอบหมายงานกลุ่ม   กลุ่มของดิฉันได้ใบงานที่ 3  โดยมีเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
  1. จัดกลุ่มสมาชิก 5 คน
  2. จงหาพัฒนาการทางสติปัญญาอายุ แรกเกิด-2 ปี (จะต้องมีอ้างอิงที่มา เช่น ผู้เขียน ชื่อหนังสือปี พ.ศ. สถานที่พิมพ์  ชื่อโรงพิมพ์)
  3. ออกแบบการนำเสนอ (ดูจากรายการทีวี ทำเป็น VDO สั้น) นำเสนอในครั้งต่อไป
  4. การนำเสนอ
          4.1  การแนะนำตัว  แนะนำกลุ่ม (การไหว้  คำควบกล้ำ  ลำดับขั้นตอนการแนะนำสมาชิก)
          4.2  ความชัดเจนในเนื้อหา
          4.3  การแบ่งหน้าที่







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น