วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 6


บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี   19 กรกฎาคม  2556
ครั้งที่ 6  เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน   08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.




ความรู้ที่ได้ในวันนี้


  • ได้เรียนรู้แนวการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยๆของภาษา   ความหมายของคำ   การอ่านและสะกดคำ



  • ได้เรียนรู้Kenneth  goodman  (เสนอแนวการสอนแบบธรรมชาติ)


  1. ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย   ในวัยเด็กชอบสนใจ  อยากรู้อยากเห็น  ช่างสงสัย  ช่างซักถาม  ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่     เลียนแบบสิ่งรอยข้าง  เช่น  เด็กจะเลียนแบบคุณครู  ฉะนั้นเราเป็นคุณครูสอนเด็กควรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก
  2. การสอนแบบธรรมชาติ  (สรุปจากการชม VDO โทรทัศน์ครู)

        (Whole  Language ) เชื่อว่า
  • เป็นการถ่ายทอดความคิด เขียน อ่าน ของเด็ก  
  • สิ่งแวดล้อมภายในห้องต้องจัดเป็นสิ่งทีมีการสำรวจ  มีในชีวิตประจำวัน เช่น การประกาสข่าว
  • หลักการมองเด็กแต่ละคน  อย่าไปคาดหวังให้เด็กมีความคิดเหมือนๆกันทั้งห้อง เช่นการเขียน      ก - ฮ  เด็กทุกคน  จะไม่สามารถเขียนได้พร้อมกันหมดทุกคน 


ได้เรียนรู้หลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ (นฤมน  เนียมหอม 2540)  สรุปได้ดังนี้

  1. การจัดสภาพแวดล้อม     (เด็กมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อม)
  2. การสื่อสารที่มีความหมาย  (เด็กสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริง)
  3. การเป็นแบบอย่าง  (ครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก)  
  4. การตั้งความคาดหวัง   (ครูต้องเชื่อมั่นในตัวเด็กว่ามีความสามารถในการอ่านและเขียนได้)
  5. การคาดคะเน   (ครูไม่ควรคาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้แบบผู้ใหญ่)
  6. การใช้ข้อมุลย้อนกลับ  (ครูต้องยอมรับในการอ่านและเขียนของเด็ก)
  7. การยอมรับนับถือ   (ในช่วงเวลาเดียวกันเด็กทุกคนไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมอย่างเดียวกัน)
  8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น   (ครูต้องทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่ใช้ภาษา   ไม่ตราหน้าเด็กว่าไม่มีความสามารถ)

 นำความรู้ไปใช้ได้อะไรบ้าง

- ความรู้ที่ได้จากการชม VDO โทรทัศน์ครู ทำให้ได้เข้าใจการสอนภาษาแบบธรรมชาติได้มากขึ้น  และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเป็นแบบอย่างที่ดีในการฝึกสอนต่อไป                                                                    - ธรรมชาติทางภาษาสำหรับเด็ก  ที่คุณครูควรนำไปเป็นแบบอย่างที่ดีในการสอน  เช่น                                                                  




                                                                         


        
เพลงแปรงฟัน   


                                                                                                                                                                              

                                                                เพลง หู ตา จมุก                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                            


  เกมการศึกษา  แก้ว  กะลา  ขัน โอ่ง    




                การเเต่งประโยคดดยใช้สื่อที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน  



 -  ภาษาในสังคมไทยปัจุบัน  คุณครูต้องระมัดระวังในการเรียนรู้ของเด็กอนุบาล  เช่น

            


คำผิดความหมายเปลี่ยน



รูปและคำมีความหมายไม่ตรงกัน



 ภาพไม่ตรงตามความหมายที่สื่อ









                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                       

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 5

 บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี   12 กรกฎาคม  2556
ครั้งที่ 5  เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน   08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.


การเรียนการสอนในวันนี้ 

กิจกรรมที่ทำก่อนเรียน

           อาจารย์ให้กระดาษมาครึ่งแผ่น กระดาษ A4  แล้วให้นักศึกษาวาดภาพอะไรก็ได้แล้วระบายสีให้สวยงาม    จากนั้นให้ออกไปนำเสนอว่า  

  • ภาพที่ตนเองวาดเป็นภาพอะไร
  • ได้มาอย่างไร
  • ภาพที่วาดยังอยู่อีกไหม
  • ชอบเพราะอะไร




ภาพที่วาดคือ หมีพู
   
 ได้มาจากเพื่อนให้ในวันเกิด  ปัจจุบันยังมีอยู่ในตู้ที่บ้าน   ชอบเพราะว่ามันน่ารักดีค่ะ

ความรู้ที่ได้ในการทำกิจกรรมนี้

           เด็กทุกคนเกิดมาต้องมีประสบการณ์ว่าเคยมีของรักของหวงเป็นของตนเอง  ไม่ว่าจะได้มาจากใคร   เป็นของที่มีราคาถูก หรือ  ราคาแพง  ว่าตนเองเคยมี  และมีความประทับใจในสิ่งนั้นๆ  พูดแล้วนึกถึงตอนเป็นเด็กอีกครั้ง   

ประโยชน์ที่ได้รับ     

1.ได้ความรู้เพิ่มเติมมากมาย  ดังนี้
Phonciogy คือ ระบบเสียงของภาษา
Sernantic   คือ ความหมายของภาษาและคำศัพท์
Syntax       คือ ระบบไวยากรณ์ของภาษา
Pragmalic   คือ ระบบการนำไปใช้

แนวคิดนักการศึกษา  
  • แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ (Skinner)   สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ  (Jon  B  Watsen) การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็ก
  • แนวคิดของกลุ่มพัฒนาการทางด้านสติปัญญา
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ  (Piaget)  ภาษาแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางด้านสติปัญญา
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ  (Vygotsky)  สังคมและบุคคลรอบข้าง มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
  • แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ (Arnold  Gesell) เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา
  • แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่า  ภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ (Noam  Chomsky)  มนุษย์เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษามาตั้งแต่เกิด เรียกว่า LAD (Language  Acquisition  Derice)  
  • แนวคิดของ (O. Hobart   owrer)   คิดค้นทฤษฎีความพึงพอใจ  เป็นต้น

2. ได้เรียนรู้ภาษาอาเซียน   ภาษาลาว   เช่น
ภาษาไทย               ภาษาลาว


ห้องคลอด              ห้องประสูติ
ห้องไอซียู                ห้องมรสุม
   ผ้าเย็น                    ผ้าอนามัย
           รถไฟ                 ห้องแถวไหล
ถุงยางอนามัย            ถุงปลิดชีวิต


3. ได้ออกไปเล่าภาพที่ตนเองประทับใจในวัยเด็ก


การนำไปใช้

  • กิจกรรมที่ทำในวันนนี้สามารถนำไปสอนเด็กได้

  • ความรู้ที่ได้สามารถนำไปต่อยอดต่อไป






ครั้งที่ 4

 บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี   5 กรกฎาคม  2556
ครั้งที่ 4  เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน   08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.


วันนี้แต่ละกลุ่มได้นำเสนองาน    โดยแบ่งเป็นกลุ่มการนำเสนอดังนี้

  1. ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
  2. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
  3. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา  อายุแรกเกิด - 2 ปี (กลุ่มของดิฉัน)
  4. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา  อายุ  2 - 4  ปี
  5. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา  อายุ  4 - 6  ปี
  6. ทฤษจิตวิทยาการเรียนรู้
  7. ทฤษฎีพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
  8. องค์ประกอบด้านภาษา

กลุ่มของดิฉันได้นำเสนอเป็นกลุ่มที่ 3 


นำเสนอเรื่องทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา  อายุแรกเกิด - 2 ปี 

โดยสรุปได้ดังนี้

 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆ เป็นลำดับขั้น  ดังนี้

      1.   การรับรู้และการเคลื่อนไหว  ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2  ปี
พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า  การเคลื่อนไหว  การมอง  การดู  ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ
      
      2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด ขั้นนี้เริ่มตั้งแแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็น 2 ขั้น  คือ  

            -  ขั้นก่อนเกิดการสังกัป  ( เด็กจะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง)

            -  การคิดแบบการหยั่งรู้    (เด็กรู้จักแยกแยะชิ้นส่วนของวัตถุและเข้าใจความหมายของจำนวนเลข)


      3.ขั้นปฎิบัติการคิดด้านรูปธรรม  ( ตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้)
      4.ขั้นปฎิบัติการคิดด้านนามธรรม  (เด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่) เป็นต้น

  ภาพการนำเสนอ

































ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนในวัยนี้



  • ได้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาข้อมูลรายละเอียดในรายวิชานี้เพิ่มมากขึ้น  และมองเห็นภาพจากการดู VDO  จากการนำเสนอของเพื่อนๆแต่ล่ะกลุ่ม

  • การนำเสนอทุกคนต้องออกไปพูด  เป็นสิ่งที่ดี  เพราะช่วยให้ฝึกการพูดที่ถูกต้อง ควบกล้ำ ออกเสียงได้ชัดเจน

  • ช่วยฝึกนักศึกษาทำให้มีความกล้าแสดงออกในทางที่ดี

  • ได้ความสามัคคีจากการทำงานเป็นทีม


ความรู้ที่ได้กับการนำไปใช้

         - ความรู้ที่ได้ในวันนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการเรียนการสอนได้ในอนาคต

          -  การนำเสนองาน  ช่วยเป็นประสบการณ์ในการสอน  เช่น การที่ทำงานผิดพลาดต้องมีการแก้ไข    การทำงานดีอยู่แล้วก็ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
























วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 1

บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี    14  มิถุนายน  2556
ครั้งที่ 1  เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน   08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.


                 ครูผู้สอนแนะนำตัวทำความรู้จักกับนักศึกษา  บอกกฎกติกาในการเรียนในรายวิชานี้  เช่นการเช็คชื่อจะมีสองอย่างคือ 1.เช็คจากใบรายชื่อ  2.เช็คโดยการปั้มในใบสีเหลือง  หลังจากนั้นให้แบ่งกลุ่ม 3-4 คนต่อกลุ่ม แล้วทำแผนผังความคิดเรื่อง  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย  ในกระดาษ A 4  แล้วตกแต่งให้สวยงาม   จากนั้นให้กลุ่มที่อาสาสมัครออกมานำเสนองานของตัวเอง
                   อาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาทุกคนสร้างบล็อกเป็นของตัวเอง  เพื่อที่จะมีงานทุกชิ้นในบล็อกหรือผู้ที่สนใจเกี่ยวกับ การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย  ได้มาศึกษาหาข้อมูลในบล็อกเราได้อีกด้วย    และอาจารย์สอนวิธีการสร้างบล็อก



รูปภาพแผนผังความคิดกลุ่มของดิฉัน









ครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี   21  มิถุนายน  2556
ครั้งที่ 2  เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน   08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.


ความหมายของภาษา


ภาษา หมายถึง การสื่อความหมาย ภาษาเป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดและความรู้สึก

ความสำคัญของภาษา

  1. เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
  2. เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
  3. เป้นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
  4. เป็นเครื่องมือในการช่วยจรรโลงจิตใจ

ทักษะทางภาษา  ประกอบด้วย

           ฟัง   พูด   อ่าน   เขียน

  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Piaget)    

     การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทางด้านภาษาและสติปัญญา

กระบวนการเรียนรู้แบ่งออกเป็น 2  กระบวนการ  คือ
  1.  การดูกซึม (Assimilation)   เด็กได้เรียนรู้   และการดูดซึมภาพต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมด้วยสถาการณ์ของตนเอง  เช่น สัตว์ที่มีปีก บินได้ เรียกว่า  นก
  2. การปรับความเข้าใจเดิม ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม (Accommodation)  เป็นกระบวนการที่ควบคู่ไปกับการดูดซึม  โดยการปรับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ เช่น สัตว์ที่มีปีก  บินได้  ปากแหลมๆ ร้องจิ๊บๆ   เรียกว่า นก   เมื่อเกิดการดูดซึมและปรับความเข้าใจ จะเกิดความสมดุล (Equilibrium) กลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง
เพียเจต์ได้แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญา  ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา ดังนี้

1. ขั้นพัฒนาการทางด้านประสาทสัมผัส (Sensorimaotcr  Stage) แรกเกิด -2 ปี
  • เด็กเรียนรู้จากประสามสัมผัส
  • เด็กเรียนรู้จากคำศัพท์สิ่งแวดล้อม  บุคคลรอบตัว
  • เด็กสนใจสิ่งที่อยู่รอบตัว  ก่อนที่จะเรียนรู้ภาษา
2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Preoperatlonal  Stage )
      
         2.1 อายุ 2-4 ปี (Preconceptual  Period) เด็กเริ่มใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสาร  เล่นบทบาทสมมุติ  การเล่าเรื่อง  แสดงความรู้สึกผ่านสีหน้า  บอกชื่อสิ่งต่างๆ รอบตัว  ภาษาของเด็กมีลักษณะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง  จะใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์แสดงออกโดยคิดว่าผู้อื่นคิดเหมือนตน

         2.2 อายุ 2- 7 ปี (Intuitive  Period)  .ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ดีกับคนรอบข้าง  ให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้บ้าง  ยังยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง  รู้จักสร้างมโนทัศน์โดยอาศัยการจัดกลุ่มวัตถุ  สามารถเห้นความสำคัญของสิ่งของได้

3. ขั้นการคิดแบบรูปธรรม(Concrete  Operational  Stage) อายุ 7-11 ปี    เด็กสามารถแก้ไขปัญหาโดยการใช้เหตุผลที่เป็นรูปธรรม


4.ขั้นการคิดแบบนามธรรม (Formal Operational  Stage ) อายุ 11- 15 ปี  
  • เด็กคิดด้วยเหตุผลอย่างเป็นระบบ
  • เด็กจะใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา
  • เข้าใจกฎเกณฑ์ทางสังคม
  • สร้างมโนทัศน์ให้สัมพันธ์กับนามธรรม

พัฒนาการทางภาษาของเด็ก

          เด็กจะค่อย ๆ  สร้างความรู้และความเข้าใจเป็นลำดับขั้น   ครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจและยอมรับ หากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้อง  ควรมองว่านับเป็นกระบวนการเรียนรู้ภาษาของเด็ก


จิตวิทยาการเรียนรู้


1.ความพร้อม

เป็นวัยความสามารถ  ประสบการณ์เดิมของเด็ก

2.ความแตกต่างระหว่างบุคคล
  • อิทธิพลทางพันธุกรรม
  • อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม
3.การจำ
  • การเห็นบ่อยๆ
  • การทบทวนเป็นระยะ
  • การจัดเป็นหมวดหมู่
  • การใช้คำสัมผัส
4. การให้แรงเสริม
  • แรงเสริมทางบวก
  • แรงเสริมทางลบ
อาจารย์ได้มอบหมายงานกลุ่ม   กลุ่มของดิฉันได้ใบงานที่ 3  โดยมีเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
  1. จัดกลุ่มสมาชิก 5 คน
  2. จงหาพัฒนาการทางสติปัญญาอายุ แรกเกิด-2 ปี (จะต้องมีอ้างอิงที่มา เช่น ผู้เขียน ชื่อหนังสือปี พ.ศ. สถานที่พิมพ์  ชื่อโรงพิมพ์)
  3. ออกแบบการนำเสนอ (ดูจากรายการทีวี ทำเป็น VDO สั้น) นำเสนอในครั้งต่อไป
  4. การนำเสนอ
          4.1  การแนะนำตัว  แนะนำกลุ่ม (การไหว้  คำควบกล้ำ  ลำดับขั้นตอนการแนะนำสมาชิก)
          4.2  ความชัดเจนในเนื้อหา
          4.3  การแบ่งหน้าที่







ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี   28  มิถุนายน  2556
ครั้งที่ 3  เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน   08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

       * ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากวันนี้เป็นกิจกรรมรับน้องใหญ่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม



เก็บภาพมาฝากค่ะ






พาน้องไปไหว้ศาลของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม




น้องแต่ละสีออกไปเต้นอย่างสนุกสนาน




ภาพนี้เป็นภาพที่ประทับใจมากที่สุด 
เพราะว่า เวลาสนุกก็สนุกด้วยกัน  เวลาเหนื่อยก็ต้องเหนื่อยด้วยกัน